ปี 2552 ปรับปรุงระบบ IT ใหม่ ที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

            สนามบินอันยิ่งใหญ่ สนามบินแห่งความภาคภูมิในของคนไทย “สนามบินสุวรรณภูมิ” ชื่อนี้ทุกคนคงรู้จักกันดี หลายครั้งหลายคราวที่คุณคงจะได้ยินข่าวต่างๆนานาทั้งแง่บวกและแง่ลบจากสนามบินอันเลื่องชื่อแห่งนี้

เพื่อให้สมกับคำล่ำลือ ด้านความยิ่งใหญ่และทันสมัย ดังนั้นคณะกรรม​การ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จึงได้​เห็นชอบงบประมาณลงทุนที่มิ​ได้จัด​ทำ​เป็น​โครง​การประจำปี 2552 ​เพิ่ม​เติมสำหรับงานปรับปรุงระบบ​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศของ ทสภ.จำนวน 3 รายงาน วง​เงินรวม 105.734 ล้านบาท (รวมสำรองราคา​เปลี่ยน​แปลงร้อยละ 10)​โดยมีกรอบดำ​เนิน​การ​และกรอบ​เบิกจ่าย​ในปีงบประมาณ 2552 ​ซึ่งประกอบด้วย

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  1. งานปรับปรุงระบบบริหารท่าอากาศยาน (Airport Management Database : AMDB) โดย Airport Management Database (AMDB) (กลุ่มซีเมนส์ เยอรมนี ใช้ระบบของ SAP)
    คือ ระบบฐานข้อมูลการปฏิบัติการสนามบินเพื่อสังเกตการณ์ ตรวจสอบ วางแผน และควบคุม รวมไปถึงระบบ Back Office บัญชี ระบบการเงิน การจัดเก็บค่าบริการส่วนต่างๆ ของสนามบิน
    จุดเด่นของระบบนี้ คือ การออกใบเรียกเก็บค่าบริการ การใช้สนามบิน จากสายการบิน และสามารถจัดเก็บค่าบริการได้ทันทีที่เครื่องลงจอด ต่างจากระบบเดิมที่มีการใช้งานที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งจะมีการคำนวณเวลาการใช้บริการที่ค่อนข้างใช้เวลามาก และรอให้สายการบินจ่ายค่าบริการหลังจากนั้น หรือแม้กระทั่งหลังจากสายการบินนั้นบินออกไปแล้วหลายวัน
  2. งานปรับปรุงระบบปฏิบัติการท่าอากาศยาน (Airport Operation Database : AODB) การพัฒนาระบบ Airport Operations Database (AODB) (บริษัทเอบีบี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ รับผิดชอบโดย ใช้ซอฟต์แวร์ UFIS ที่มีการใช้งานในสนามบินเอเธนส์แล้ว) แบ่งเป็น Flight Information Management System (FIMS) ระบบบริหารข้อมูลการบิน โดยมีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลขององค์กรสากลและสนามบินต่างๆ , Ramp Service Management System ระบบบริหารการเข้าจอดของเครื่องบิน ณ อาคารผู้โดยสาร
    จุดเด่นของระบบ : การตรวจสอบเครื่องบินที่ลอยอยู่เหนือน่านฟ้าทั่วโลก ทำให้มีข้อมูลชัดเจนว่าสายการบินใดกำลังจะเข้าใช้บริการภายในสนามบิน และระบบการจับสัญญาณ ทันทีที่เครื่องบินแตะรันเวย์สนามบิน ทำให้สามารถจับเวลาการใช้บริการสนามบินเพื่อนำไปสู่การคิดค่าบริการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จากเดิมที่สนามบินดอนเมืองใช้ระบบเจ้าหน้าที่คำนวณเวลาการใช้บริการของเครื่องบินภายในสนามบิน
  3. งานปรับปรุง Software Interface ระหว่างระบบ AIMS กับระบบต่าง ๆ AIMS คือ ระบบบริหารจัดการและเชื่อมโยงข้อมูลการสื่อสารภายในสนามบินเพื่อการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจ นอกจากนั้นระบบยังเชื่อมโยงกับระบบย่อยต่างๆ ในสนามบินเพื่อได้มาซึ่งข้อมูลที่ทันเหตุการณ์เพื่อประกอบการบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกเหนือจาก 3 ส่วนงานที่ทำการปรับปรุงนี้ ระบบ AIMS ยังมีอีกระบบงานที่สำคัญ คือ

ระบบ Common Use Terminal Equipment (CUTE) (กลุ่มสามารถฯใช้ระบบ SITA)
เป็นระบบจัดการด้านผู้โดยสารและสัมภาระ ซึ่งมีส่วนสำคัญคือ External CCTV & Central CCTV Integration (กลุ่มสามารถฯใช้ระบบของ Nice Vision อิสราเอล) เป็นระบบกล้องวงจรปิดภายนอกและการเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมส่วนกลาง สำหรับใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณต่างๆ ของสนามบิน ซึ่งมีกล้องวงจรปิดทั้งสนามบินมากกว่า 1,000 จุด
จุดเด่นของระบบ : ระบบของอิสราเอล ที่เห็นภาพและแสดงภาพชัดเจน อย่างที่เรียกได้ว่า กล้องเห็นเหมือนกับตาคนที่มองเห็นเหตุการณ์นั้นๆ โดยระบบการบันทึกภาพจะเก็บภาพย้อนหลังได้อย่างน้อย 30-60 วัน
​ทั้งนี้การลุงทุนงบประมาณทั้งหมด ก็​เพื่อ​ให้​การบริหารจัด​การ ด้านสารสน​เทศ​และ​โครงสร้างพื้นฐานด้าน​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศของ ทอท.ให้มี​ความทันสมัย รวด​เร็ว สามารถ​เชื่อม​โยงข้อมูลของทุกท่าอากาศยาน​ใน​ความรับผิดชอบของ ทอท. ​ทำ​ให้​การบริหารจัด​การ ​การปฏิบัติงาน ​การวาง​แผนงานของ ทอท.สามารถดำ​เนิน​การ​ได้อย่างต่อ​เนื่อง มีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย รองรับน​โยบายของรัฐบาลที่มุ่ง​เน้น​ให้องค์กรมี​การบริหารงาน​แบบบูรณา​การ นอกจากนี้ ยัง​เป็น​การยกระดับ​การบริหารจัด​การ​เชิงธุรกิจ​และ​การบริ​การขององค์กร ​ให้สามารถ​แลก​เปลี่ยนข้อมูล ที่​เกี่ยวข้องกับ​การปฏิบัติงาน ​และข้อมูลด้านธุรกิจ ​ให้สามารถรองรับ​การบริ​การทางอิ​เล็กทรอนิกส์​ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวม​ทั้ง​เป็น​การพัฒนาบุคลกร ทอท.​ให้สามารถ​ใช้ประ​โยชน์ด้าน​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศอย่างคุ้มค่า ​และมี​ความพร้อม​ใน​การปฏิบัติงานภาย​ใต้ระบบต่างๆ ​ได้ ​ซึ่ง​การปรับปรุงระบบ​เทค​โน​โลยีสาระสน​เทศนี้จะ​ เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะสร้าง​ความพึงพอ​ใจ​ให้กับ​ผู้​ใช้บริ​การท่าอากาศยาน อีกทางหนึ่ง เพื่อให้ผู้โดยสารได้ใช้บริการต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็วและตอบสนองทุกความต้องการให้ดียิ่งขึ้น ให้สมกับคำว่า สนามบิน